พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดี

1.กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว เนื่องจากร่างกายเราต้องการสารอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน น้ำ และใยอาหาร แต่ไม่มีอาหารชนิดใด ชนิดเดียวที่ให้สารอาหารต่างๆครบ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ จึงจำเป็น ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินแต่ละหมู่ให้หลากหลาย จึงจะได้สารอาหารต่างๆครบถ้วน และเพียงพอ

2 .กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยที่ให้กำลังงาน มีสารอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินกับแร่ธาตุ และใยอาหาร ควรกินข้าวที่ขัดสีแต่น้อย และกินสลับกับ อาหารประเภทแป้งอื่นๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือกและมัน

3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ พืชผักและผลไม้ นอกจากให้วิตามินแร่ธาตุ และกากอาหารแล้ว ยังมีสารอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปเกาะตามหลอดเลือด และช่วยทำให้เยื่อบุของเซลล์ และอวัยวะต่างๆแข็งแรงอีกด้วย

4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็น

5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย นมมีโปรตีน วิตามินบี และแคลเซียมซึ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน จึงเป็นอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลทุกวัย

6. กินอาหารที่มีแต่ไขมันพอควร ไขมันให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทั้งช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค แต่ไม่ควรกินมากเกินไป จะทำให้อ้วน และเกิดโรคอื่นๆตามมา การได้รับไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ และอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากเกินไป จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ควรกินอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง อบ  จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้

7.หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด การกินอาหารรสจัดมากจนเป็นนิสัย ให้โทษแก่ร่างกาย รสหวานจัดทำให้ได้พลังงานเพิ่มทำให้อ้วน รสเค็มจัดเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน อาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ มีการปกปิดป้องกันแมลงวันและบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีอุปกรณ์หยิบจับที่ถูกต้อง ย่อมทำให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วยด้วยระบบทางเดินอาหาร

9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นโทษแก่ร่างกาย ทำให้สมรรถภาพการทำงานลดลง ขาดสติ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ตลอดจนชีวิต เสี่ยงต่อ การเป็นโรคตับแข็ง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้มะเร็งหลอดอาหารและโรคกระเพาะอาหาร จึงควรงด หรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่ขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา

10.รับประทานโพรไบโอติกส์ โพรไบโอติคส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ ที่มีชีวิต ที่เมื่อรับประทานเข้าไป จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ และระบบต่างๆ ของร่างกาย

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

1.ต่อสู้กับแบคทีเรียตัวร้ายที่รุกรานเข้ามา 

2.เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดการอักเสบ 

3.ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

4.สร้างวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย

5.ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ไม่ดีต่อร่างกายเติบโตมากจนเกินไป

6.เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์บุผนังที่ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเข้าสู่กระแสเลือด

7.ช่วยร่างกายในการเผาผลาญและดูดซึมอาหารและยา

จากงานวิจัย โพรไบโอติกส์มีส่วนช่วยในบรรเทาอาการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น ท้องผูก ท้องเสียจากยาปฏิชีวนะและเชื้อแบคทีเรีย Clostridioides difficile โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้แปรปรวน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ตกขาวจากเชื้อรา ติดเชื้อในกระเสเลือดในเด็กทารก หูชั้นกลางอักเสบ หวัดตามฤดูกาล และไซนัสอักเสบ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์อาจแตกต่างไปในแต่ละบุคคล

โพรไบโอติคส์พบได้แพร่หลายในอาหารจำพวกโยเกิร์ต นม ชีส อาหารหมักดอง รวมถึงในรูปแบบอาหารเสริมและยาไม่ว่าจะเป็นแคปซูลหรือผง ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกแหล่งของโพรไบโอติคส์ที่ต้องการได้ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดจากการรับประทานโพรไบโอติคส์ ควรคำนึงถึงชนิดของ จุลินทรีย์ จำนวน จุลินทรีย์ รวมถึงวิธีการเก็บรักษาเพื่อคงสภาพเชื้อ จุลินทรีย์ ที่ดีไว้