ผลกระทบ
2.3.1 ผลกระทบจากจุลินทรีย์
สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปปนเปื้อนในอาหาร มีการเจริญเติบโตในอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม มีการสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายขึ้นมา ได้แก่
1.เชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) จุลินทรีย์นี้พบแพร่กระจายอยู่ในอากาศตามธรรมชาติ ในดิน น้ำ ลำไส้ ของสัตว์ต่างๆและปลา เจริญและสร้างพิษได้ดีในอาหารในสภาวะที่ไร้อากาศเช่นในอาหารที่บรรจุกระป๋องหรือบรรจุขวดในอุตสาหกรรมครัวเรือนที่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อไม่เพียงพอ โดยทั่วไปอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำเช่น หน่อไม้ปั๊บ ใช้อุณหภูมิ 121องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านาน 15 นาทีในการฆ่าเชื้อ ส่วนอาหารกระป๋อง ที่มีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำมะขาม สามารถใช้อุณหภูมิพาสเจอร์ไรส์ที่ 75 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถทำลายเชื้อนี้ได้หมด รวมทั้งก่อนการบริโภคอาหารกระป๋องควรนำอาหารไปต้มน้ำเดือดนาน 15-30 นาที ความร้อนจะทำลายพิษของเชื้อนี้
พิษที่รบกวนการทำงานของระบบประสาททำให้เกิดอาการอัมพาต อาการที่พบคือ คลื่นไส้ตาลาย ทำให้เกิดการมองเห็นภาพซ้อน หน้ามืด ปวดตัว ริมฝีปากแห้ง คอแห้ง กล้ามเนื้อหดเกร็ง ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ ปวดท้อง ท้องผูก สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงนั้นจะพบว่ามีอาการเกิดขึ้นที่ระบบประสาท เช่น มองเห็นไม่ชัดเพราะกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต ลืมตาไม่ขึ้น ตากระตุกตลอดเวลา กล้ามเนื้อชา พูดตะกุกตะกัก สูญเสียความสามารถในการพูดและกลื่นอาหาร ขาดความรู้สึก ระบบหายใจขัดข้อง ในที่สุดหัวใจหยุดเต้น ขาดลมหายใจและตาย
2.เอสเชอร์ริเชีย โคไล ( Escherichia coli) จุลินทรีย์นี้อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนและ E. coli – when contamination leads to infection สัตว์เลือดอุ่น แพร่กระจายไปกับดินและน้ำ จัดเป็นแบคทีเรียนี้ใช้เป็นดัชนีชี้บ่งถึงการปนเปื้อนอุจจาระของคนหรือสัตว์ในอาหารพบจุลินทรีย์ในเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา นมและ ผลิตภัณฑ์นม ผัก อาหารอบและข้าว โดยมีระยะการฟักตัว 18 ชั่วโมงและก่อให้เกิด อาการของโรคนาน 2 วัน ทำให้ท้องร่วง มีไข้ อาจสูญเสียน้ำจนหมดสติ อ่อนเพลีย หัวใจอาจทำงานผิดปกติหรือหยุดทำงานได้ คลื่นไส้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงน้อยกว่าเช่น ปวดศีรษะและเป็นตะคริว
3.ซาลโมเนลลา (Salmonella spp.) จุลินทรีน์นี้อยู่ในลำไส้และทางเดินอาหารของคนและสัตว์และขับปนออกไปกับอุจจาระ การบริโภคอาหารที่ประกอบด้วยเครื่องในสัตว์ซึ่งมิได้หุงต้มหรือปรุงให้สุกมีโอกาสได้รับเชื้อนี้ หรือถ้าสัตว์ เช่น สุนัข แมว เป็ด ไก่ หนู ไปถ่ายอุจจาระไว้ในบริเวณผลิตและปรุงอาหารโอกาสปนเปื้อนเชื้อจะมีมากขึ้นอาการเป็นพิษเกิดจากการบริโภคอาหารที่จุลินทรีย์นี้ เรียกว่า Salmonellosis ทำให้เกิดอาการ ท้องร่วง เป็นตะคริวและอาเจียน มีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาว รู้สึกขาดน้ำ ให้เกิดอาการเจ็บป่วยโดยเริ่มภายใน 6 – 36 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารปนเปื้อนที่มีเชื้อโรคเข้าไป มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดหัว ปวดท้อง อุจจาระร่วง และอ่อนเพลีย อาการเจ็บป่วยจะเป็นอยู่ตั้งแต่ 1 – 8 วัน เป็นอันตรายถึงตายได้ในกลุ่มผู้ที่มีความเสียงสูงคือเด็ก คนชราและผู้ที่มีความต้านทานต่ำ
2.3.2 ผลกระทบจากไวรัส
การปนเปื้อนของไวรัสในอาหารแตกต่างจากแบคทีเรีย คือ ไวรัสจะไม่เจริญเพิ่มจำนวนจึงมักตรวจไม่พบในอาหารเพราะมีจำนวน น้อย แต่เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเจริญแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ไวรัสที่ติดต่อโดยอาหารเป็นสื่อ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ (Hepatitis A Virus) ไวรัสนี้ติดต่อจากผู้ป่วยโดยตรงหรือจากพาหะหรือปนเปื้อนมากับน้ำ มีระยะฟักตัว 10-50 วัน ใน ช่วงเวลานี้ไวรัสจะเจริญและเพิ่มจำนวนภายในเยื่อบุทางเดินอาหาร ก่อนที่จะเข้าสู่กระแสเลือดทางตับ
การเจ็บป่วยเริ่มแรกคือ ผู้ได้รับเชื้อจะมีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้และอาเจียน ตามด้วยเซลล์ตับถูกทำลาย ทำเกิดโรคตับอักเสบ ตัวเหลือง ท้องอืด ไวรัสนี้จะแพร่ผ่านทางเดินอาหาร การติดต่อเริ่มจากผู้ป่วยหรือผู้มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ในร่างกายทำหน้าที่ประกอบและบริการอาหาร อาหารที่เป็นสาเหตุคือ สัตว์น้ำ หอย นม เครื่องดื่ม การใช้ความ ร้อนที่อุณหภูมิ 98 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที ทำลายไวรัสนี้ได้
2.3.3 ผลกระทบจากเชื้อรา
สาเหตุเกิดจากเชื้อราที่เจริญเติบโตในอาหารแห้ง ที่เก็บไม่ถูกสุขลักษณะ จนเชื้อรานั้นสร้างสารพิษ ที่เรียกว่า “อะฟลาทอกซิน” ที่ทนต่อความร้อนถึง 260 องศาเซลเซียส ไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อนจากการหุงต้มธรรมดาได้ สารพิษนี้เมื่อถูกสร้างขึ้นมาจะกระจายไปทั่วทั้งชิ้นของอาหาร แม้ว่าจะตัดส่วนที่มีเชื้อราขึ้นออกไปแล้วก็ตาม
อาการที่พบ 1. แบบเฉียบพลัน – ถ้าได้รับเข้าไปในปริมาณมาก จะมีอาการไข้สูง ซัก หายใจติดขัด ตับไตถูกทำลาย หัวใจ และสมองบวมและอาจถึงตายได้ในเด็ก
2. แบบเรื้อรัง – ถ้าได้รับเข้าไปในปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้งจะมีการสะสมสารพิษนี้ในตับ จนอาจเกิดเป็นมะเร็งในตับได้
2.3.3 ผลกระทบจากพยาธิ
1.พยาธิตัวตีด อาการคือ หิวบ่อย รับประทานอาหารมาก แต่ร่างกายผอมลง รู้สึกอ่อนเพลีย มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นอาการแสดงว่า อาจมีพยาธิตัวตีดอยู่ในร่างกาย เนื่องจากคนถูกตัวติดแย่งอาหาร หรืออาจมีอาการทางประสาท นอนไม่หลับ หรือเวียนศีรษะได้
2. พยาธิตัวจี๊ด มีสาเหตุมาจากพยาธิตัวกลมที่มักพบในน้ำ ได้แก่ปลาน้ำจืด เช่น ปลาซ่อน ปลาไหล ปลาดุก อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารหมักที่ทำจากปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า หรือเนื้อสัตว์อื่นๆอาจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ อาการ มีอาการบวมที่ผิวหนังบริเวณที่พยาธิเคลื่อนที่ไป
โรคต่างๆ
2.2.1 มะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นเซลล์มะเร็งของเนื้อเยื่อลำไส้ ชนิดที่พบบ่อยคือมะเร็งที่เติบโตมาจากเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นต่อมในลำไส้ใหญ่ก่อนที่เซลล์จะกลายเป็นมะเร็ง บางครั้งอาจพบลักษณะคล้ายติ่งเนื้องอกในลำไส้ขึ้นมาก่อนได้ซึ่งการผ่าตัดติ่งเนื้องอกออก สามารถป้องกันไม่ให้เซลล์เปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจลุกลามทะลุผนังลำไส้หรือแพร่กระจายต่อไปยังตับ ปอด สมอง หรือกระดูกได้
อาการเบื้องต้นของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
1) การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายประจำ หรือลักษณะอุจจาระลีบเล็กลง
2) ท้องเสียหรือท้องผูกสลับกัน
3) อึดอัดแน่นท้อง มีอาการเกร็งคล้ายเป็นตะคริวในท้อง
4) น้ำหนักลด โดยไม่ได้จำกัดอาหาร
5) เลือดออกทางทวารหนัก หรือปนมากับอุจจาระ
6) เบื่ออาหาร อ่อนเพลียอย่างผิดปกติ
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
1) การผ่าตัด
โดยส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดส่วนที่เป็นมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออก ผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการนำลำไส้มาเปิดทางหน้าท้องและขับถ่ายทางถุงหน้าท้อง ซึ่งอาจเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
2) การใช้รังสีรักษา
รังสีรักษา สามารถให้ก่อนหรือหลังผ่าตัดเพื่อทำลายโรคบริเวณต้นกำเนิด การให้รังสีรักษาก่อนผ่าตัดสามารถช่วยลดขนาดโรคทำให้ผ่าตัดได้ง่ายขึ้น ส่วนการให้หลังผ่าตัดสามารถช่วยทำลายโรคที่อาจหลงเหลืออยู่
3) การใช้ยาเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัดสามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ก่อนหรือหลังการผ่าตัดได้แต่อาจมีผลข้างเคียงมากในผู้ป่วยบางราย ซึ่งปัจจุบันสามารถให้ยาบรรเทาผลข้างเคียงดังกล่าวร่วมด้วย
2.2.2 โรคลำไส้เเปรปรวน
ลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะการทำงานของลำไส้ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้องร่วมกับการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป โดยอาจเปลี่ยนที่ความถี่ หรือลักษณะของอุจจาระ โรคนี้มักเรื้อรั้งโดยอาการอาจเป็นๆ หายๆ ซึ่งแม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
สาเหตุของโรค
ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน จัดว่าเป็นโรคในกลุ่ม Functional Bowel Disorder ชนิดหนึ่ง หมายความถึงโรคที่ไม่พบความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นจากการตรวจร่างกายอย่างละเอียดหรือการตรวจเพิ่มเติมเพื่อสืบค้นหาสาเหตุ ไม่พบว่ามีการอักเสบและไม่พบว่าเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งแต่อย่างใด อาการต่าง ๆ ของโรคนี้เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังลำไส้ จากหลักฐานที่มีอยู่เชื่อว่ามีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไอบีเอส ซึ่ง 3 ปัจจัยที่สำคัญได้แก่
1) การบีบตัวหรือการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ผิดปกติ นำไปสู่อาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
2) ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น หลังกินอาหาร ซึ่งในคนปกติจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ในผู้ป่วยไอบีเอส จะมีการตอบสนองมากผิดปกติ มีการบีบตัวและการเคลื่อนตัวของลำไส้มากขึ้น จนมีอาการปวดท้องและท้องเสีย หรือท้องผูก เป็นต้น นอกจากอาหารแล้วตัวกระตุ้นอื่นที่สำคัญ คือ ความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็มีส่วนเสริมให้มีอาการมากขึ้น
3) มีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของแกนที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความรู้สึก ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง โดยเกิดจากความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานซึ่งมีหลายชนิดและทำหน้าที่แตกต่างกัน
อาการบอกโรค
ผู้ป่วยมักทรมานจากการปวดท้อง ซึ่งเมื่อได้ถ่ายอุจจาระจะรู้สึกหายปวดและสบายขึ้น ส่วนใหญ่มักปวดที่ท้องน้อย ลักษณะปวดเกร็ง หลายคนสังเกตพบว่าอาการปวดจะดีขึ้นหลังถ่ายอุจจาระ อาการปวดท้องแต่ละครั้งรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งปวดมาก บางครั้งปวดน้อย ร่วมกับการมีการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสลับกัน โดยแต่ละรายจะมีอาการหนึ่งอาการใดเด่นกว่าอีกอาการหนึ่ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ค่อยสุด ท้องผูก หรืออาจมีมูกปนออกมาเวลาถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระจะเปลี่ยนไปเป็นก้อนแข็งหรือเหลวจนเป็นน้ำ ถ่ายเป็นมูกปนอุจจาระมากขึ้น
การหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากโรคลำไส้แปรปรวน
1) ลดการรับประทานเนื้อสัตว์หรือไข่ ซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ควรเน้นรับประทานอาหารประเภทที่ย่อยง่าย เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง และเนื้อปลา
2) หลีกเลี่ยงการรับประทานของมัน ของทอด หรือเบเกอรี่ที่อุดมไปด้วยนม เนย
3) รับประทานอาหาร ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใย
4) รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรอดอาหาร ไม่ควรเร่งรีบรับประทาน
5) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ซึ่งก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
6) ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
7) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2.2.3 โรคลำไส้อุดตัน
เป็นภาวะที่มีอะไรไปอุดลำไส้ ทำให้ของเหลวภายในลำไส้ หรืออุจจาระผ่านลงไปไม่ได้ เหมือนเราเปิดน้ำจากสายยาง แล้วเอานิ้วอุดไว้ น้ำจะผ่านไปไม่ได้ แล้วเกิดการย้อนกลับ
สาเหตุของโรค
ลำไส้เล็กอุดตัน สาเหตุ 80% เกิดจากพังผืดในลำไส้ จากการที่คนไข้เคยผ่าตัดในช่องท้องมาแล้ว
ลำไส้ใหญ่อุดตัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมะเร็งลำไส้
อาการของโรค
ไม่ถ่าย ไม่ผายลม คลื่นไส้อาเจียน ท้องโตมากขึ้น ปวดท้อง ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งของจุดอุดตันด้วย ถ้าเป็นลำไส้เล็ก อาการ คลื่นไส้อาเจียน จะเด่นกว่า ถ้าลำไส้ใหญ่ อาการไม่ถ่ายไม่ผายลมจะเด่นกว่า จนสุดท้าย มันจะย้อนกลับขึ้นไปถึงจะมีอาเจียนได้ และนอกจากนี้ยังเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ คือการอุดตันเป็นมาก ลำไส้ส่วนต้นจะขยายขึ้นมาก สุดท้ายอาจมีภาวะลำไส้แตกได้ คนไข้จะปวดท้องมากๆ มีไข้สูง อาจมีติดเชื้อในกระแสเลือด อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
มีวิธีการรักษา
1) สำหรับการรักษาลำไส้เล็กอุดตันจากพังผืด ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือไม่ได้อุดตัน 100% เราจะใช้วิธีให้ลำไส้ได้พัก คืองดน้ำงดอาหาร ร่วมกับใส่สายสวนจมูก เพื่อระบายของเหลวออกมา ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้น
2) ลำไส้ใหญ่อุดตัน ส่วนใหญ่จบด้วยการผ่าตัดฉุกเฉิน มักจะต้องมีการตัดต่อลำไส้ หรือมีทวารเทียมทางหน้าท้องได้
2.2.4 โรคลำไส้รั่ว
ภาวะลำไส้รั่ว เป็นภาวะการดูดซึมของลำไส้ผิดปกติ โดยทั่วไปแล้วเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ หรือ เซลล์ดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กจะเรียงชิดติดกัน เพื่อป้องกัน คัดกรอง และควบคุมสารพิษ รวมทั้งเชื้อโรคที่จะเข้าสู่กระแสเลือด หากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้อักเสบ หรือมีการบวมของเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้จึงไม่เรียงชิดติดกัน ทำให้เกิดช่องว่างที่บริเวณนี้ขึ้นมา ซึ่งตรงช่องว่างนี้เองทำให้สิ่งแปลกปลอม เชื้อแบคทีเรีย สารอาหารที่เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ สารพิษต่างๆ รั่วซึมเข้าสู่ร่างกาย สู่กระแสเลือด เข้าไปรบกวนระบบภูมิต้านทาน ทำให้เกิดกระบวนการการอักเสบต่างๆ ภายในร่างกายตามมา
ลำไส้รั่วส่งผลให้เกิดภาวะการอับเสบในร่างกายแบบเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองตีบ ความดันโลหิตสูง อันเนื่องมาจากกระบวนการอักเสบที่เพิ่มขึ้น แม้กระทั่งการไปรบกวนหรือกระตุ้นการตอบสนองของเม็ดเลือดขาว ทำให้เม็ดเลือดขาวสับสนเกิดภาวะภูมิแพ้ง่ายขึ้น ยังมีผลต่อการอักเสบในเซลล์สมอง มีผลต่อการนอนหลับ อารมณ์ ความจำระยะสั้น
สาเหตุของโรค
1) ยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบต่างๆ ยากลุ่มนี้จะมีผลต่อความแข็งแรงของเยื่อบุในผนังทางเดินอาหาร และเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วได้หากใช้ยากลุ่มนี้ติดต่อกันนาน
2) ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ โดยในลำไส้จะแข็งแรงได้นอกจากผนังของลำไส้แล้ว ยังมีเรื่องสายพันธุ์ของแบคทีเรียหรือสมดุลของแบคทีเรียในร่างกายอยู่ด้วย เมื่อเรากินยายาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อไปบ่อยๆ หรือกินมากๆ แล้วไม่ได้เติมเต็มแบคทีเรียตัวดีเข้าไปทดแทน จะก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวร้าย หรือจุลินทรีย์ชนิดอื่น เช่น เชื้อรา หรือ แบคทีเรียตัวอื่นที่ร่างกายไม่ต้องการเพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดกระบวนการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ได้
3) ความเครียด ความวิตกกังวล การนอนหลับไม่เพียงพอ\
4) ภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง
อาการของโรค
1) ปวดศีรษะหรือปวดตามข้อต่าง ๆ ไม่ทราบสาเหตุ
2) น้ำหนักขึ้นง่าย ขึ้นผิดปกติ
3) มีแก๊สในระบบทางเดินอาหารมากผิดปกติ
4) มีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง ภาวะการไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้ เช่น อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
5) มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้องบ่อยๆ ท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องผูก 1 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป ท้องอืด6) อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ
7) นอนไม่ค่อยหลับ อ่อนเพลีย
8) มีผื่นคัน มีสิวขึ้นเรื้อรัง
การรักษาภาวะลำไส้รั่ว
1) ทำความสะอาดของเสียออกจากลำไส้ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ การทำ Colon Detox
2) การซ่อมแซมเยื่อบุลำไส้ที่ไม่แข็งแรง โดยเสริมกรดอะมิโน รวมไปถึงวิตามินอี สังกะสี ซีลีเนียม และโอเมก้า–3 ที่มีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเยื่อบุผนังลำไส้ที่ได้รับบาดเจ็บและลดการอักเสบของลำไส้ได้
3) การปรับสมดุลร่างกาย โดยปรับเรื่องอาหาร เลี่ยงอาหารที่แพ้ ลดความเครียด
4) การเติมเต็มแบคทีเรียดีเข้าไป ได้แก่ จุลินทรีย์ดี ซึ่งพบในโยเกิร์ต คีเฟอร์ ถั่วหมัก กิมจิ และอาหาร Probiotic เช่น กล้วย น้ำผึ้ง หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม แก่นตะวัน หอมหัวใหญ่ และมะเขือเทศ เป็นต้น
1.กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว เนื่องจากร่างกายเราต้องการสารอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน น้ำ และใยอาหาร แต่ไม่มีอาหารชนิดใด ชนิดเดียวที่ให้สารอาหารต่างๆครบ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ จึงจำเป็น ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินแต่ละหมู่ให้หลากหลาย จึงจะได้สารอาหารต่างๆครบถ้วน และเพียงพอ
2 .กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยที่ให้กำลังงาน มีสารอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินกับแร่ธาตุ และใยอาหาร ควรกินข้าวที่ขัดสีแต่น้อย และกินสลับกับ อาหารประเภทแป้งอื่นๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือกและมัน
3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ พืชผักและผลไม้ นอกจากให้วิตามินแร่ธาตุ และกากอาหารแล้ว ยังมีสารอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปเกาะตามหลอดเลือด และช่วยทำให้เยื่อบุของเซลล์ และอวัยวะต่างๆแข็งแรงอีกด้วย
4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็น
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย นมมีโปรตีน วิตามินบี และแคลเซียมซึ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน จึงเป็นอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลทุกวัย
6. กินอาหารที่มีแต่ไขมันพอควร ไขมันให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทั้งช่วยดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค แต่ไม่ควรกินมากเกินไป จะทำให้อ้วน และเกิดโรคอื่นๆตามมา การได้รับไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ และอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากเกินไป จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ควรกินอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง อบ จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้
7.หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด การกินอาหารรสจัดมากจนเป็นนิสัย ให้โทษแก่ร่างกาย รสหวานจัดทำให้ได้พลังงานเพิ่มทำให้อ้วน รสเค็มจัดเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง
8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน อาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ มีการปกปิดป้องกันแมลงวันและบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีอุปกรณ์หยิบจับที่ถูกต้อง ย่อมทำให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วยด้วยระบบทางเดินอาหาร
9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นโทษแก่ร่างกาย ทำให้สมรรถภาพการทำงานลดลง ขาดสติ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ตลอดจนชีวิต เสี่ยงต่อ การเป็นโรคตับแข็ง แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้มะเร็งหลอดอาหารและโรคกระเพาะอาหาร จึงควรงด หรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่ขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมา
10.รับประทานโพรไบโอติกส์ โพรไบโอติคส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ ที่มีชีวิต ที่เมื่อรับประทานเข้าไป จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ และระบบต่างๆ ของร่างกาย
ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์
1.ต่อสู้กับแบคทีเรียตัวร้ายที่รุกรานเข้ามา
2.เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดการอักเสบ
3.ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
4.สร้างวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย
5.ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ไม่ดีต่อร่างกายเติบโตมากจนเกินไป
6.เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์บุผนังที่ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเข้าสู่กระแสเลือด
7.ช่วยร่างกายในการเผาผลาญและดูดซึมอาหารและยา
จากงานวิจัย โพรไบโอติกส์มีส่วนช่วยในบรรเทาอาการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น ท้องผูก ท้องเสียจากยาปฏิชีวนะและเชื้อแบคทีเรีย Clostridioides difficile โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้แปรปรวน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ตกขาวจากเชื้อรา ติดเชื้อในกระเสเลือดในเด็กทารก หูชั้นกลางอักเสบ หวัดตามฤดูกาล และไซนัสอักเสบ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์อาจแตกต่างไปในแต่ละบุคคล
โพรไบโอติคส์พบได้แพร่หลายในอาหารจำพวกโยเกิร์ต นม ชีส อาหารหมักดอง รวมถึงในรูปแบบอาหารเสริมและยาไม่ว่าจะเป็นแคปซูลหรือผง ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกแหล่งของโพรไบโอติคส์ที่ต้องการได้ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดจากการรับประทานโพรไบโอติคส์ ควรคำนึงถึงชนิดของ จุลินทรีย์ จำนวน จุลินทรีย์ รวมถึงวิธีการเก็บรักษาเพื่อคงสภาพเชื้อ จุลินทรีย์ ที่ดีไว้
ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารมีโมเลกุลขนาดใหญ่ให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างพลังงาน สร้างความเจริญขั้นตอนต่างๆ ที่จะเปลี่ยนจากอาหารให้เป็นสารอาหารก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดบริเวณผนังของลำไส้เล็ก
ปากและฟันปากและฟัน (mouth and teeth)
ปาก(mouth)
ประกอบด้วย
1) ริมฝีปาก พบชนิดสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุ ติดต่อกับผนังเยื่อบุข้างแก้ม
2) ช่องแก้ม ประกอบด้วยเซลล์ เยื่อบุเป็นบริเวณที่ผลิตน้ำเมือกและเป็นทางเปิดออกของต่อมน้ำลาย
3) ช่องปากประกอบด้วยเพดานปาก ลิ้นไก่บริเวณใต้ลิ้น
4) ต่อมน้ำลาย (salivary gland) อยู่รอบ ๆ ปาก มี 3 คู่
ส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำลาย
1) มีค่า pH ระหว่าง 6.2-7.4 ประสิทธิภาพของน้ำลายสูงสุดที่ pH = 6.8 (กรดอ่อน ๆ)
2) มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 97-99 %
3) เป็นสารที่มีสภาพหนืด ประกอบด้วย ฟอสฟอรัส และแคลเซียมในปริมาณสูง
4) ประกอบด้วยน้ำย่อย (enzyme) ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้ง คือ เอนไซม์ไทยาลินหรือเอนไซม์อะไมเลส(ptyalin or amylase)
5) มีสารเมือก (mucus) ช่อยในการหล่อลื่น
หน้าที่ของน้ำลาย
1) ช่วยกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
2) ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย
3) ทำหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
4) ทำหน้าที่ทำลายอาหาร ให้ต่อมรับรส (tast bud) รับรสอาหารได้ช่วยทำความสะอาดปากและฟัน
5) ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้นขณะพูด6) ขับสารบางชนิดออกมา (excretory) ได้แก่ ยูเรีย น้ำตาล ละสารพิษต่าง ๆ เช่น ปรอท ตะกั่ว
ฟัน(teeth)
1) ตัวฟัน เป็นส่วนที่โผล่ออกจากขากรรไกร เมื่อนำมาผ่าตามแนวยาวจะเห็น ส่วนประกอบดังนี้
1.1) ชั้นเคลือบฟัน ประกอบด้วย แคลเซียมฟลูออไรด์ มีสีขาวเนื้อแน่นเป็นส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อฟันไว้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร
1.2) ชั้นเนื้อฟัน อยู่ในชั้นใต้ชั้นเคลือบฟัน ในส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตทำหน้าที่สร้างเนื้อฟันได้
1.3) ชั้นโพรงประสาทฟัน เนื้อคอฟัน ส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาท และหลอดเลือดผ่านมาทางคลองรากฟัน
2) รากฟัน เป็นส่วนที่ติดกับขากรรไกร หุ้มด้วยเหงือก
ชนิดของฟัน
1) ฟันน้ำนม มีทั้งหมด 20 ซี่ บน 10 ล่าง 10 ฟันน้ำนมจะงอกตั้งแต่ 6 เดือน – 12 ปี ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดตั้งแต่อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ถึง 12 ปี
2) ฟันแท้ มีทั้งหมด 28-32 ซี่ แล้วแต่ฟันกรามหลังจะงอกครบหรือไม่ อยู่ขากรรไกรบน 16 ซี่ และ ขากรรไกร 16 ซี่
คอหอย (pharynx)
เป็นท่ออยู่ระหว่างด้านหลังของช่องปากและหลอดลม บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารโดยมีกลไกควบคุมการส่งอาหารหรืออากาศคนละเวลากัน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยต่อน้ำเห
หลอดอาหาร (oesophagus)
อยู่ต่อจากคอหอยอยู่ด้านหลังหลอดลม ส่วนบนเป็นกล้ามเนื้อลายมีหูรูด ช่วยปิดเปิดหลอดอาหารระหว่างกลืนอาหารส่วนท้ายเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยบีบส่งอาหารเป็นระยะ เรียกว่า เพอรีสตัลซีส ช่วยให้อาหารเคลื่อนที่ได้สะดวก
กระเพาะอาหาร (stomach)
อยู่บริเวณด้านซ้ายของช่องท้องกว้างประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1) คาร์ดิแอค เป็นส่วนที่ต่อจากหลอดอาหาร
2) ส่วนฟันดัส เป็นส่วนมีขนาดใหญ่เรียกว่า “บอดี้” 3) ไพโลรัส เป็นส่วนท้ายของกระเพาะที่ต่อกับลำไส้เล็กตรง ทำหน้าที่ส่งอาหารสู่ลำไส้เล็กเป็นระยะ ๆ
ลำไส้เล็ก (Small Intestine)
ยาวประมาณ 10 m ที่ผนังด้านในของลำไส้เล็กประกอบด้วยตุ่มเล็ก ๆ มากมาย ประมาณ 20-40 อัน ตุ่มเหล่านี้เรียกว่า “วิลลัส” ด้านในประกอบด้วยเส้นเลือดและเส้นน้ำเหลือง เลือดทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหารและทำลายเชื้อโรค แบ่งออกเป็น 3 ตอนได้แก่
1) ดูโอดีนัม ต่อจากกระเพาะอาหารยาวประมาณ 1 ฟุต ส่วนบนมีท่อเปิดจากตับอ่อนมีท่อส่งน้ำดีกับน้ำย่อยต่าง ๆ บริเวณส่วนนี้จะมีลักษณะเป็น รูปตัว U
2) เจจูนัม ยาวประมาณ 8-9 ฟุต ย่อยและดูดซึมอาหารและสารอาหารมากที่สุด
3) อิเลียม ส่วนสุดท้ายต่อกับลำไส้ใหญ่เป็นมุมฉากบริเวณไส้ติ่งยาวประมาณ 2-3 ฟุต ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารมาสู่ร่างกายค่อนข้างน้อย
ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine)
ยาวประมาณ 1.5 เมตร เริ่มตั้งแต่ส่วนของอิเลียมจนถึงทวารหนัก แบ่งเป็น 4 ส่วน
1) ซีกัม ต่อจากอิเลียมยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ตรงรอยต่อมีหูรูด บริเวณนี้มีไส้เล็ก ๆ เรียกว่า “ไส้ติ่ง” ส่วน
2) โคลอน แบ่งเป็น 3 ตอน ตั้งฉากกันเป็นส่วนที่ยาวที่สุด
3) ส่วนของเร็กตัม (Rectum) หรือเรียกว่าไส้ตรง สิ้นสุดที่ทวารหนักยาวประมาณ 12-15 ซม. อยู่ด้านหลังกระเพาะปัสสาวะหรือมดลูก บริเวณนี้มีแนวโน้มให้เกิดโรคมะเร็งมากที่สุด
4) ช่องทวารหนัก (Anal Canal) ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 ซม. ปลายสุดเปิดออกนอกร่างกายเรียกว่า “ทวารหนัก” ประกอบด้วยหูรูด 2 แห่ง คือ ด้านนอกและด้านใน หูรูดด้านในอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของจิตใจ หูรูดส่วนนอกอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ
หน้าที่ของลำไส้ใหญ่
1. สะสมกากอาหาร
2. ดูดซึมแร่ธาตุ น้ำ กลูโคส3. มีจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยกากอาหารโดยเฉพาะเซลลูโลส ให้มีสภาพเหลวหรืออ่อนนุ่ม
ขั้นตอนแรกหลังจากที่รับประทานอาหารเข้าไป เราจะใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารในปากให้มีขนาดเล็กลงร่วมกับเอนไซม์เอนไซม์อะไมเลส ที่อยู่ในน้ำลาย เพื่อย่อยอาหารประเภทแป้งให้กลายเป็นคาร์โบไฮเดรตสายสั้นๆ และน้ำตาลโมเลกุลคู่ เมื่อมีอาหารเคลื่อนผ่านหลอดอาหารจะบีบรัดตัวเป็นช่วงๆ ทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง จึงนับเป็นอวัยวะที่มีการย่อยอาหารต่อเนื่องมาจากปากเพื่อส่งอาหารลงกระเพาะเมื่ออาหารเคลื่อนมาถึงกระเพาะ เมื่ออาหารเคลื่อนมายังกระเพาะอาหาร สารอาหารประเภทโปรตีนจะถูกย่อยโดยเอนไซม์เพปซิน เป็นเอนไซม์ที่ทำงานได้เฉพาะในสภาวะเป็นกรด โปรตีนที่ถูกย่อยในกระเพาะจะมีขนาดเล็กลงกลายเป็นสายสั้นๆ เรียกว่า เปปไทด์ ซึ่งยังไม่สามารถดูดซึมได้ ต้องผ่านการย่อยขั้นต่อไปในลำไส้เล็กก่อน ซึ่งในกระเพาะอาหารเอง ก็สามารถดูดซึมสารบางชนิดในอาหาร เช่น น้ำ แร่ธาตุ และแอลกอฮอล์ เมื่ออาหารเดินทางมาถึงลำไส้เล็ก น้ำตาลโมเลกุลคู่ ที่ได้จากการย่อยแป้ง จะถูกย่อยต่อด้วยเอนไซม์มอลเทส ซูเครส แลกเทส กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ กลูโคส ฟรักโทส กาแลกโทส และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด โปรตีนและเปปไทด์ จะถูกย่อยต่อด้วย เอนไซม์ทริปซิน เอนไซม์คาร์บอกซิเพปทิเดส) ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ได้เป็นกรดอะมิโนที่มีขนาดเล็ก สามารถดูดซึมได้ ส่วนไขมัน จะถูกน้ำดีซึ่งสร้างจากตับ ย่อยให้แตกตัวเป็นเม็ดไขมันเล็กๆ จากนั้นจะถูกย่อยต่อด้วยเอนไซม์ลิเพส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ได้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล จากนั้นสารอาหารที่ได้จะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เล็ก เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนกากใยอาหารก็จะเคลื่อนไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อรอกำจัดต่อไป