อวัยวะที่สำคัญในระบบย่อยอาหาร

ปากและฟันปากและฟัน (mouth and teeth)

ปาก(mouth)

ประกอบด้วย

1) ริมฝีปาก พบชนิดสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุ ติดต่อกับผนังเยื่อบุข้างแก้ม

2) ช่องแก้ม ประกอบด้วยเซลล์ เยื่อบุเป็นบริเวณที่ผลิตน้ำเมือกและเป็นทางเปิดออกของต่อมน้ำลาย

3) ช่องปากประกอบด้วยเพดานปาก ลิ้นไก่บริเวณใต้ลิ้น

4) ต่อมน้ำลาย (salivary gland) อยู่รอบ ๆ ปาก มี 3 คู่

ส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำลาย

1) มีค่า pH ระหว่าง 6.2-7.4 ประสิทธิภาพของน้ำลายสูงสุดที่ pH = 6.8 (กรดอ่อน ๆ)

2) มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 97-99 %

3) เป็นสารที่มีสภาพหนืด ประกอบด้วย ฟอสฟอรัส และแคลเซียมในปริมาณสูง

4) ประกอบด้วยน้ำย่อย (enzyme) ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้ง คือ เอนไซม์ไทยาลินหรือเอนไซม์อะไมเลส(ptyalin or amylase)

5) มีสารเมือก (mucus) ช่อยในการหล่อลื่น

หน้าที่ของน้ำลาย

1) ช่วยกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น

2) ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย

3) ทำหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

4) ทำหน้าที่ทำลายอาหาร ให้ต่อมรับรส (tast bud) รับรสอาหารได้ช่วยทำความสะอาดปากและฟัน

5) ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้นขณะพูด6) ขับสารบางชนิดออกมา (excretory) ได้แก่ ยูเรีย น้ำตาล ละสารพิษต่าง ๆ เช่น ปรอท ตะกั่ว

ฟัน(teeth)

1) ตัวฟัน เป็นส่วนที่โผล่ออกจากขากรรไกร เมื่อนำมาผ่าตามแนวยาวจะเห็น ส่วนประกอบดังนี้

1.1) ชั้นเคลือบฟัน ประกอบด้วย แคลเซียมฟลูออไรด์  มีสีขาวเนื้อแน่นเป็นส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อฟันไว้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร

1.2) ชั้นเนื้อฟัน อยู่ในชั้นใต้ชั้นเคลือบฟัน ในส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตทำหน้าที่สร้างเนื้อฟันได้

1.3) ชั้นโพรงประสาทฟัน เนื้อคอฟัน ส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาท และหลอดเลือดผ่านมาทางคลองรากฟัน

2) รากฟัน เป็นส่วนที่ติดกับขากรรไกร หุ้มด้วยเหงือก

ชนิดของฟัน

1) ฟันน้ำนม มีทั้งหมด 20 ซี่ บน 10 ล่าง 10 ฟันน้ำนมจะงอกตั้งแต่ 6 เดือน – 12 ปี ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดตั้งแต่อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ถึง 12 ปี

2) ฟันแท้ มีทั้งหมด 28-32 ซี่ แล้วแต่ฟันกรามหลังจะงอกครบหรือไม่ อยู่ขากรรไกรบน 16 ซี่ และ ขากรรไกร 16 ซี่

คอหอย (pharynx)

เป็นท่ออยู่ระหว่างด้านหลังของช่องปากและหลอดลม บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารโดยมีกลไกควบคุมการส่งอาหารหรืออากาศคนละเวลากัน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยต่อน้ำเห

หลอดอาหาร (oesophagus)

อยู่ต่อจากคอหอยอยู่ด้านหลังหลอดลม ส่วนบนเป็นกล้ามเนื้อลายมีหูรูด ช่วยปิดเปิดหลอดอาหารระหว่างกลืนอาหารส่วนท้ายเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยบีบส่งอาหารเป็นระยะ เรียกว่า เพอรีสตัลซีส ช่วยให้อาหารเคลื่อนที่ได้สะดวก

กระเพาะอาหาร (stomach)

อยู่บริเวณด้านซ้ายของช่องท้องกว้างประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1) คาร์ดิแอค เป็นส่วนที่ต่อจากหลอดอาหาร

2) ส่วนฟันดัส เป็นส่วนมีขนาดใหญ่เรียกว่า “บอดี้” 3) ไพโลรัส เป็นส่วนท้ายของกระเพาะที่ต่อกับลำไส้เล็กตรง ทำหน้าที่ส่งอาหารสู่ลำไส้เล็กเป็นระยะ ๆ

ลำไส้เล็ก (Small Intestine)

ยาวประมาณ 10 m ที่ผนังด้านในของลำไส้เล็กประกอบด้วยตุ่มเล็ก ๆ มากมาย ประมาณ 20-40 อัน ตุ่มเหล่านี้เรียกว่า “วิลลัส” ด้านในประกอบด้วยเส้นเลือดและเส้นน้ำเหลือง เลือดทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหารและทำลายเชื้อโรค แบ่งออกเป็น 3 ตอนได้แก่

1) ดูโอดีนัม ต่อจากกระเพาะอาหารยาวประมาณ 1 ฟุต ส่วนบนมีท่อเปิดจากตับอ่อนมีท่อส่งน้ำดีกับน้ำย่อยต่าง ๆ บริเวณส่วนนี้จะมีลักษณะเป็น รูปตัว U

2) เจจูนัม ยาวประมาณ 8-9 ฟุต ย่อยและดูดซึมอาหารและสารอาหารมากที่สุด

3)  อิเลียม ส่วนสุดท้ายต่อกับลำไส้ใหญ่เป็นมุมฉากบริเวณไส้ติ่งยาวประมาณ 2-3 ฟุต ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารมาสู่ร่างกายค่อนข้างน้อย

ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) 

ยาวประมาณ 1.5 เมตร เริ่มตั้งแต่ส่วนของอิเลียมจนถึงทวารหนัก แบ่งเป็น 4 ส่วน

1) ซีกัม ต่อจากอิเลียมยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ตรงรอยต่อมีหูรูด บริเวณนี้มีไส้เล็ก ๆ เรียกว่า “ไส้ติ่ง” ส่วน

2) โคลอน แบ่งเป็น 3 ตอน ตั้งฉากกันเป็นส่วนที่ยาวที่สุด

3) ส่วนของเร็กตัม (Rectum) หรือเรียกว่าไส้ตรง สิ้นสุดที่ทวารหนักยาวประมาณ 12-15 ซม. อยู่ด้านหลังกระเพาะปัสสาวะหรือมดลูก บริเวณนี้มีแนวโน้มให้เกิดโรคมะเร็งมากที่สุด

4) ช่องทวารหนัก (Anal Canal) ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 ซม. ปลายสุดเปิดออกนอกร่างกายเรียกว่า “ทวารหนัก” ประกอบด้วยหูรูด 2 แห่ง คือ ด้านนอกและด้านใน หูรูดด้านในอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของจิตใจ หูรูดส่วนนอกอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ

หน้าที่ของลำไส้ใหญ่

1. สะสมกากอาหาร

2. ดูดซึมแร่ธาตุ น้ำ กลูโคส3. มีจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยกากอาหารโดยเฉพาะเซลลูโลส ให้มีสภาพเหลวหรืออ่อนนุ่ม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *