5. ท้องร่วง ท้องเสีย

สาเหตุ
เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็ก เนื่องจากได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือการหยิบสิ่งของเข้าปาก
อาการของโรค
ลักษณะอุจจาระที่เหลวกว่าปกติ หรือมีมูกเลือดปนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อวัน หรือในกรณีที่วัดปริมาณอุจจาระได้ คือ อุจจาระเกิน 10 กรัม/กก./วัน ในทารกหรือเด็กเล็ก หรือ อุจจาระเกิน 200 กรัม/วัน ในเด็กโตและผู้ใหญ่ ความถี่ของการถ่ายอุจจาระโดยส่วนใหญ่แล้วในเด็กทารกสามารถขับถ่ายได้อย่างปกติ 3-10 ครั้งต่อวัน ได้ ขึ้นอยู่กับนมที่เด็กรับประทาน ซึ่งเด็กที่ทานนมแม่มักถ่ายบ่อยกว่าเด็กที่ทานนมชงหรือนมผง ส่วนในเด็กวัยเตาะแตะและเด็กโตมักจะถ่ายปกติวันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับอาหารที่ทานเข้าไป
ลักษณะสีของอุจจาระสีเหลืองหรือน้ำตาล คือสีอุจจาระปกติ
1.สีเขียว อาจเกิดจากทานผักหรือเครื่องดื่มที่มีสีเขียวมากเกินไป กินธาตุเหล็ก หรือท้องเสียจนน้ำดีไม่สามารถย่อยและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ทันสีดำ อาจเกิดจากรับประทานธาตุเหล็ก ทานอาหารที่มีสีดำ เช่น blacklicorice หรือเลือดออกในทางเดินอาหา
2.สีแดง อาจเกิดจากบริโภคอาหารที่มีสีแดง เช่น บีทรูท น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น จากยาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะบางชนิด หรือเลือดออกจากทางเดินอาหาร
3.สีซีด ให้ระวังเพราะอาจเกิดจากการอุดตันในท่อน้ำดี หรืออาจเกิดจากทานยาบางชนิดปริมาณมาก เช่น ยาลดกรดอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ bismuth subsalicylate
ระยะเวลาของการถ่ายเหลวท้องร่วงเฉียบพลันท้องร่วงที่เป็นมาไม่เกิน 7 วันท้องร่วงยืดเยื้อ คือ ท้องร่วงที่เป็นนาน 8-13 วันท้องร่วงเรื้อรัง คือ ท้องร่วงที่เป็นนานตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป ซึ่งอาการท้องร่วงเฉียบพลัน เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องร่วงจึงควรได้รับการประเมินเบื้องต้นก่อนว่ามีภาวะขาดน้ำรุนแรงแค่ไหน เช่น ปากแห้ง ตาลึกโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นไว มีอาการกระสับกระส่าย ร้องไห้งอแงผิดปกติหรือซึมลง น้ำหนักตัวลดลง เป็นต้น ซึ่งหากไม่มั่นใจควรรีบพาลูกมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจที่โรงพยาบาล
การรักษา
เบื้องต้นในขณะอยู่ที่บ้านถ้าหากลูกน้อยมีอาการท้องร่วง อาจจะต้องให้สารน้ำทางปาก เช่น เกลือแร่ ปริมาณ10 มล./กก. ต่อการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ 1 ครั้ง (ปริมาณสูงสุด 240 มล.ต่อครั้ง) แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานเกลือแร่ชดเชยให้เพียงพอต่อการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในแต่ละครั้ง อาจเป็นเพราะอาเจียนมาก ทานไม่ได้เลย หรือถ่ายเหลวหลายครั้ง ในปริมาณมาก ซึมลง ควรรีบพามาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เนื่องจากหากปล่อยให้เกิดภาวะขาดน้ำที่รุนแรงนานๆ อาจก่อให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน และเกิดภาวะช็อก
อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่ท้องร่วง
1.ทารกที่กินนมแม่ แนะนำให้กินนมแม่ต่อได้ หากยังถ่ายเหลวหลายครั้งหลังรับประทานนม หรือนมแม่ออกครั้งละปริมาณมาก พิจารณาให้กินน้ำนมส่วนหลังไปก่อนแล้วบีบน้ำนมส่วนหน้าเก็บแช่ตู้เย็นไว้ให้กินได้เมื่อหายท้องเสียแล้วรับประทานอาหารตามวัย ตามปกติ
2. รับประทานอาหารตามวัย
- การเปลี่ยนนมเป็นนมสูตรที่ปราศจากน้ำตาลแลคโทสซึ่งในกรณีนี้อาจไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนในผู้ป่วยท้องร่วงเฉียบพลันทุกราย
- ในรายที่ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำรุนแรงให้สงสัยอาจมีภาวะ lactose intolerance จึงอาจจะพิจารณาให้เปลี่ยนนมเป็นสูตรที่ปราศจากน้ำตาลแล็กโทส แต่ให้เปลี่ยนนมชั่วคราว ไม่จำเป็นต้องงดตลอดไป
- แนะนำให้กินอาหารตามวัยที่ย่อยง่าย กินในปริมาณน้อยๆ และกินบ่อยๆ ควรงดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง แต่ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร
การป้องกันโรคท้องร่วง
- ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำทั้งตัวเด็ก และผู้ดูแล
- รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และ ครบ 5 หมู่
- ถ้าเกิดอาการท้องร่วงแล้ว ผู้ดูแลควรระมัดระวังการแพร่เชื้อ โดยดูแลหลังการขับถ่ายให้สะอาด
เรียบร้อย เก็บแพมเพิสทิ้งลงถังขยะให้มิดชิด ไม่พาผู้ป่วยไปลงสระว่ายน้ำ และงดไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยง
เด็กอ่อนจนกว่าจะหายด