วPA คืออะไร PA หรือที่เรียกเต็มๆว่า Performance Agreement คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน ซึ่ง PA คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มุ่งตรงสู่การบรรลุซึ่ง วิสัยทัศน์และพันธกิจ หรือความสำเร็จขององค์กร มีการทำข้อตกลงล่วงหน้าถึงกิจกรรม ตัวชี้วัดที่จะประเมิน ตลอดจนเกณฑ์ผ่าน โดยผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินสามารถร่วมกันกำหนด และข้อตกลงต่างๆ ต้องสอดคล้องกับคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งงานนั้น และ สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน/องค์กรนั่นเอง
ขั้นตอนการทำ PA (Performance Agreement)
• ผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมินทำข้อตกลงประเมินผลการปฏิบัติงานตั้งแต่ก่อนเริ่มรอบการประเมิน
• เมื่อผ่านพ้นระยะการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินและ ผู้ถูกประเมิน ร่วมรับรู้ผลการประเมินพร้อมกัน รวมทั้งร่วมกัน วางแผนการพัฒนา/ฝึกอบรมผู้ถูกประเมินเมื่อมีข้อควรพัฒนา
• ผู้ประเมินกำหนดข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติงานรอบต่อไปกับผู้ถูกประเมิน โดยควรครอบคลุมจุดที่ควรพัฒนา
ทำไมคุณครูต้องทำ PA (Performance Agreement)
ครูทุกคนต้องทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) กับ ผอ. ทุกปีงบประมาณ ตามแบบของ ก.ค.ศ. และต้องได้คะแนนการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 เพื่อคงวิทยฐานะ และ ใช้ในการประเมินเลื่อนเงินเดือน
ประโยชน์การทำPerformance Agreement
ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาสามารถทบทวนลักษณะการปฏิบัติงาน ของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งการจัดสรรปันส่วนงาน เพื่อให้การ ปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งหน่วยงานสอดคล้องกับพันธกิจของ หน่วยงาน/องค์กร
• การทำข้อตกลงการประเมินผลก่อนการประเมินผลจริง โดย ข้อตกลงเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน รวมทั้ง ข้อตกลงเป็นที่รับรู้ของบุคลากรในหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดการ ยอมรับและสร้างความยุติธรรมในหน่วยงาน
• ในกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงาน 2 หน้าที่ (Dual Position) การทำข้อตกลงการประเมินผลจะทำให้สามารถแบ่งเวลาการ ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับงาน รวมทั้งมีความแม่นยำมากขึ้นใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ที่มา : https://www.kruchiangrai.net
ระดับการปฏิบัติงาน
ครูชำนาญการ แก้ไขปัญหา
ครูชำนาญการพิเศษ ริ่เริ่ม พัฒนา เป็นแบบอย่างที่ดี
ครูเชี่ยวชาญ คิดค้น ปรับเปลี่ยน สามารถให้คำปรึกษากับผู้อื่นได้
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ สร้างการเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบที่ 1 : การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
-1.1 สร้างและพัฒนาหลักสูตร
-1.2 ออกแบบการจัดการเรียนรู้
-1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้
-1.4 การสร้างและพัฒนาสื่อนวัตกรรม
-1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้
-1.6 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
-1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
-1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน
-2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
-2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
-2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา
-2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และสถานประกอบการ
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
-3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
-3.2 มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
-3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียน
องค์ประกอบการวัดและประเมินผลปฏิบัติงาน
-งาน
-ผลลัพธ์
-ตัวชี้วัด
-ร่องรอยหลักฐาน
องค์ประกอบที่ 2 : ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
องค์ประกอบการวัดและประเมินผลปฏิบัติงาน
-ชื่อประเด็นท้าทาย
-ผลลัพธ์ เชิงปริมาณ, เชิงคุณภาพ
-ตัวชี้วัด
-ร่องรอยหลักฐาน
เกณฑ์การประเมิน
ครูชำนาญการ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65
ครูชำนาญการพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70
ครูเชี่ยวชาญ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80