หน้าแรก

ที่มาและความสำคัญ

ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น ทุกคนล้วนประสบปัญหาเกี่ยวกับการเข้าในระดับมหาลัยวิทยาลัย ในการสอบเข้าในระดับมหาวิทยาลัยนั้นจะมีการสอบในระบบ TCAS ทั้งหมด 4 รอบ แต่ละรอบนั้นมีการแข่งขันกันสูงมาก โดยเฉพาะรอบที่ 1 Portfolio ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพราะในชั้นเรียนจะมีการทำ Portfolio ส่งไม่ว่าจะเป็นการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย หรือทำงานส่งครูนั้นมักจะประสบปัญหา ที่ว่าไม่มีแนวทางการทำ Portfolio ที่ถูกต้อง หรือการแนะนำตัวให้เหมาะสมแก่ตนเอง พวกเราจึงมีความสนใจในการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ Portfolio สำหรับคนที่สนใจในการทำ Portfolio หรือกำลังหลงทางเหมือนกับพวกเราอยู่ โดยจากการสำรวจและสังเกตพบการในการทำ Portfolio นั้นเป็นปัญหาที่พบได้ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งสังเกตจากการทำงานส่ง Portfolio ในรายวิชาต่างๆ นักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ Portfolio และนักเรียนมักมีความกังวล กดดัน ในการทำพอร์ตส่งเข้าสมัครในระดับอุดมศึกษา จากการสังเกตค้นพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ มักมีปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบ รายละเอียด เนื้อหา รูปภาพที่เหมาะ ภาษา จึงเป็นเหตุผลที่เราอยากทำเว็บไซต์สำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ Portfolio และเหตุผลอีกประการหนึ่งที่เราตั้งใจจะทำโครงงานเกี่ยวกับการแนะนำเกี่ยวกับ Portfolio ก็เพราะแฟ้มสะสมผลงานจะกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญที่แสดงถึงกิจกรรมและความสำเร็จของนักเรียนในช่วงเวลาหนึ่ง

          นอกจากนี้ แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ยังมีประโยชน์เพื่อใช้สะสมผลงานสะท้อนความคิดของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น เพราะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และการออกแบบ ใช้ความคิดสร้าสรรค์ ด้วยตนเองของนักศึกษา มากกว่าการสอนในชั้นเรียน และช่วยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการเรียนรู้ของตนเอง และมองเห็นความก้าวหน้าในบทบาทหน้าที่ของตนเองด้วย เราหวังว่าโครงงานนี้จะช่วยให้บุคคลที่สนใจในเรื่อง Portfolio ที่เราจัดทำรวบรวมค้นคว้าหาข้อมูล นำไปใช้ประโยชน์ในการทำเพื่อใช้ในการสมัครเรียนหรือสมัครเข้าทำงานในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งของผู้ศึกษาข้อมูลที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

วันนี้เราจะมาแชร์เทคนิคสำหรับการทำ Portfolio ยื่นเข้ามหาลัยมาให้ทุกคนกันค่ะ เป็นเทคนิคที่ทางเราได้รวบรวมมาให้ สำหรับคนที่เริ่มต้นทำ Portfolio เพื่อจะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยกันนะคะ แถมเรายังนำตัวอย่าง Portfolio จากรุ่นพี่มาให้ทุกคนได้ดูเป็นแนวทาง ไปกันเลยค่ะ !!

วิธีทำ Portfolio

ส่วนที่ : 1 หน้าปก

ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะกรรมการจะตัดสินว่า เขาจะเปิดดูพอร์ตโฟลิโอของเราหรือไม่ ไม่ว่า เนื้อหาภายในของพอร์ตโฟลิโอจะดีแค่ไหน แต่ถ้าหน้าปกไม่น่าสนใจ ก็อาจจะไม่ดึงดูดใจ

  • ควรออกแบบพอร์ตโฟลิโอให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ
  • รูปที่เลือกใช้ควรเป็นรูปที่สวมใส่ชุดนักเรียน และเห็นใบหน้าที่ชัดเจน
  • ใส่รายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะสมัครมหาลัยฯ ไหน คณะ และสาขาอะไร
  • ควรมีประวัติส่วนตัวของตัวเองเล็กน้อย เพื่อยืนยันตัวตน
  • ชื่อจริง – นามสกุล
  • ชื่อเล่น ( มีหรือไม่มีก็ได้ )
  • ชื่อโรงเรียน
  • ชื่อมหาลัยฯ / คณะ / สาขา ที่ยื่น

ส่วนที่ : 2 คำนำ

  • บอกถึงเหตุผลที่อยากเข้าศึกษา เพราะอะไร สิ่งไหนที่เป็นแรงบันดาลใจ
  • คณะและสาขานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร น่าสนใจตรงไหน และเหมาะกับเรายังไง ต้องเขียนในเชิงบวกเท่านั้น
  • ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ A4
  • บอกเล่าออกมาให้เห็นถึงความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และความพยายาม รวมถึงทัศนคติที่ดีต่อคณะและสาขาที่ยื่น
  • เขียนคำนำ พอร์ตออกมาเป็นรูปแบบเรียงความแบบย่อ ไม่ต้องยาวจนเกินไป ประโยคไหนอยากให้กรรมการสนใจเป็นพิเศษ สามารถเน้นได้เลย

ส่วนที่ : 3 ประวัติส่วนตัว

  • รูปที่เลือกใช้ควรเป็นรูปนักเรียน หรือรูปภาพที่เห็นหน้าตาชัดเจน
  • ใส่ข้อมูลส่วนตัวพื้นฐาน ให้ครบถ้วน
  • เพิ่มเติมในส่วนของงานอดิเรกเข้าไป เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวเองมากยิ่งขึ้น
  • ควรใส่ข้อมูลความสามารถพิเศษ ควรเกี่ยวข้องกับคณะและสาขาที่จะเข้า
  • ข้อมูลครอบครัว ควรที่จะใส่เพื่อสำรองข้อมูล ในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ
  • ช่องทางการติดต่อ / ข้อมูลติดต่อ จะต้องเป็นข้อมูลที่อัปเดตล่าสุด

ส่วนที่ : 4 ประวัติการศึกษา

  • ชื่อโรงเรียนที่จบมา ในแต่ละระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในแต่ละชั้นปี

ส่วนที่ : 5 กิจกรรมที่โดดเด่น

  • คัดเลือกกิจกรรมที่โดดเด่น เข้ารอบ หรือได้รับรางวัล (โดยเรียงจากรางวัลใหญ่ไปเล็ก)กิจกรรมเกี่ยวข้องกับคณะและสาขา ที่ยื่น
  • เลือกใช้รูปภาพที่เห็นตัวเองขณะทำกิจกรรมนั้นอย่างชัดเจน
  • อธิบายรายละเอียดของกิจกรรมให้กระชับ เข้าใจง่ายและเห็นภาพ รวมถึงรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขัน และสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมโยงไปหาคณะและสาขา

ส่วนที่ : 6 เกียรติบัตร รางวัล

  • ผลงานควรเรียงจากรางวัลใหญ่ ไปรางวัลเล็ก
  • ควรสแกนรูปภาพผลงาน แบบสี เพื่อความสวยงาม ชัดเจน ขนาดรูปภาพไม่ควรเล็กจนเกินไป
  • ต้องเขียนคำบรรยายใต้ภาพด้วยว่า เราเข้าร่วมกิจกรรมหรือการแข่งขันอะไร และได้รับรางวัลอะไร และได้อะไรจากการเข้าร่วม

ตัวอย่าง Portfolio จากรุ่นพี่

ผู้จัดทำ